ส่วนประกอบของต้นถั่วลันเตา
- Tiger Spoon
- Nov 16, 2019
- 1 min read
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 1. ลำต้น ถั่วลันเตามีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ที่มีลำต้นหลัก และแตกกิ่งสาขาตามข้อของลำต้น ลำต้นหลักสามารถยาวได้มากกว่า 2 เมตร

2. ใบ ใบถั่วลันเตาเป็นใบประกอบ มีก้านใบหลักแทงออกบริเวณข้อของลำต้น ประกอบด้วยหูใบ 1 คู่ มีลักษณะเรียบหรือหยักลึก โดยมีใบย่อยออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ใบมีสีเขียว โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ มีขนขนาดเล็ก มีเส้นใบชัดเจน
3. ดอก ดอกถั่วลันเตาออกเป็นช่อ ช่อละ 1-3 ดอก แทงออกบริเวณระหว่างโคนใบของข้อในลำต้น พันธุ์ที่ออกดอกเร็วจะออกดอกแรกบริเวณข้อที่ 5-11 ส่วนพันธุ์ที่ออกดอกช้าจะออกบริเวณข้อที่ 13-15 ดอกที่พบมี 2 สี คือ สีขาว และสีม่วง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 3 กลีบ คือ – กลีบดอก Standard เป็นกลีบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ด้านบนสุดของดอก ดอกตูมที่ยังไม่บานจะมีกลีบดอกชนิดนี้ห่อหุ้มดอกทั้งหมด แต่เมื่อดอกบาน กลีบหุ้มนี้จะคลี่ออก และปลายกลีบโค้งออกด้านหลัง
– กลีบดอก Wing เป็นกลีบดอกที่มีขนาดเล็กรองลงมา ประกอบด้วย 2 กลีบ อยู่ด้านข้างดอก – กลีบดอก Keel เป็นกลีบดอกเรียวยาวคล้ายหลอด อยู่บริเวณด้านในสุด ทำหน้าที่ห่อหุ้มเกสร เกสรประกอบด้วยเกสรเพศผู้ 10 เส้น โดย 9 เส้น เรียงล้อมรอบรังไข่ ส่วนอีก 1 เส้น มีขนาดสั้นกว่า จะแยกตัวอยู่อิสระ ส่วนเกสรเพศเมียจะอยู่ตรงกลางสุดของดอกที่เป็นรังไข่แบนยาว สีเขียว ก้านชูเกสรโค้งยาว

4. ฝัก และเมล็ด ฝักถั่วลันเตาอ่อนมีลักษณะสีเขียว แบนเรียบ แต่จะนูนเฉพาะบริเวณของเมล็ด เมื่อฝักโตจะมีลักษณะอวบนูนทั้งฝัก มองไม่เห็นส่วนของเมล็ด ฝักจะโค้งคล้ายดาบ เมล็ดภายในฝักมีประมาณ 5-7 เมล็ด ขึ้นอยู่กับพันธุ์

ประโยชน์ถั่วลันเตา • ฝักอ่่อนนำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู เช่น ผัดผัก ผัดหมูถั่วลันเตา รวมถึงนำมาลวกหรือรับประทานสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก •ยอดอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือ ใช้ปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงจืด เป็นต้น • เมล็ดสด – ใช้ปรุงอาหารจำพวกผัด ทอดต่างๆ – ใช้แปรรูปเป็นถั่วลันเตากระป๋อง ถั่วลันเตาแช่แข็ง • เมล็ดแห้ง – ใช้คั่วเกลือรับประทานเป็นอาหารว่าง – ใช้ผลิตแป้งจากถั่วลันเตา • ต้น และใบถั่วลันเตา ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับเสริมโปรตีน

ร้าน Tiger Spoon ตัวแทนจำหน่ายขนม/ขนมกับแกล้ม จากบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด
ถั่วลันเตาอบกรอบ ตรา ลีโอสแน็ค (LEO SNACK) :
Comments